P.pw - Shorten urls and earn money!

ข้อแตกต่างระหว่างสาขาและอาชีพคอมพิวเตอร์แต่ละสาขา

คณะสารสนเทศศาสตร์  ได้รับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนจากท่านอธิการบดี  ให้ดำเนินการพัฒนาคณะ  สารสนเทศศาสตร์ให้เป็นคณะชั้นนำด้าน  ICT  ในประเทศไทยโดยมุ่งเน้นการ
พัฒนานักศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด  และสร้างงานวิจัยที่โดดเด่นที่ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในระดับสากล
.  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร
.  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
สาขาวิชาบริหารระบบ
. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและโมไบล์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สาขาวิชามัลติมีเดียแอนิเมชัน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการนี้  เป็นการศึกษาการใช้สารสนเทศในธุรกิจอุตสาหกรรมและสังคม  สาขาวิชานี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจการใช้สารสนเทศ  ดังนั้นนักศึกษาจะเรียนวิชาพื้น
ฐานด้านธุรกิจและบริหาร  และวิทยาการคอมพิวเตอร์จุดเด่นของหลักสูตรอยู่ที่นักศึกษาสามารถเลือกเน้นความสามารถที่เป็น  "ทักษะ"ที่เป็นจริงได้ในด้าน

.  Business Process and MIS
.  Programming Skill ใช้ภาษา  UML และ  ASP.NET
.  Web Design(ใช้  Dream Weaver และ  Flash ได้)
. Business System Analysis
e-Commerce
.  e-learning
. Microsoft office
. Multimedia in Business(ใช้  Flash และ  Photoshop ได้)
นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  จะมีทางเลือกในสายอาชีพในองค์กรต่าง  ๆ  เช่น  ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ  บริษัทตลาดหลักทรัพย์  บริษัทระดับ  SME ฯลฯ  โดยสามารถ
ทำงานในตำแหน่งเลขานุการ  จนถึงโปรแกรมเมอร์  หรือเจ้าหน้าที่  End Use จนถึงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน  อาชีพหลักที่เป็นได้  มีดังนี้
.  เจ้าหน้าที่ฝ่าย End Use ในส่วนงาน  เช่น  ส่วนงานสินเชื่อของธนาคาร  ที่มีระบบซอฟต์แวร์สินเชื่อเบื้องต้น
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์  (Support)
เจ้าหน้าที่ฝ่าย e-learning
.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน
เลขานุการกรรมการผู้จัดการใหญ่
เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน
เจ้าหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีคอมพิวเตอร์  หรือระบบบริหารงานบุคคล
เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระบบ
.  และอื่น  ๆ
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  เน้นที่ความเข้าใจถึงศาสตร์และศิลป์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์  โดยมีพื้นฐานอย่างดีในด้าน  Algorithm, Data Structure และ  Discrete
Mathematics นักศึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในวิทยาการแบบ  Object โดยใช้ภาษา  Java และเทคโนโลยี .Netสามารถพัฒนาระบบ  Database ได้  สามารถเขียน
โปรแกรม  Web based ได้  สามารถออกแบบโดยใช้ภาษา  UML ได้  มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านSecurity, Web Service และ  Computer Architecture
ทักษะที่นักศึกษาต้องมี  คือ
ออกแบบ Object-Oriented Software โดยใช้ภาษา  UML
สามารถใช้  CASE Tool ได้
สามารถเขียนภาษา  Java ในระดับ  J2EE ได้
สามารถใช้เทคโนโลยี.Net ในการสร้าง  Web Service ได
.  สามารถออกแบบ  Database Application ที่เป็น  Web based ได้  โดยใช้  Oracle database หรือ  Microsoft SQL Server ได้
อาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะทำงานที่น่าท้าทายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สำเร็จสาขานี้จะ สามารถทำงานเป็น
Software Developer
. Programmer
.  Software Test Engineer
Network Engineer
.  Programmer
System Administrator
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่เหมาะกับคนที่สนใจทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์  ผู้ที่มีพื้นฐานด้านไฟฟ้า  อิเลคทรอนิกส์  วิศวกรรมศาสตร์  วิทยาศาสตร์  จะสามารถเรียนใน
สาขานี้ได้ดี  การเรียนจะมุ่งเน้นทักษะการออกแบบระบบดิจิทัล  ระบบควบคุมที่ใช้ซอฟต์แวร์ระดับแก่นโดยใช้ภาษา  C และ  Visual C++ ตลอดจนภาษา  Java บางครั้งก็ต้อง
ใช้ภาษา  Assembly นักศึกษาจะสามารถออกแบบระบบ  Digital ได้  ซึ่งประกอบด้วย  อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟตแวร์ที่สร้างพิเศษสำหรับงานนั้น
ทักษะหลักที่จะได้รับการศึกษา
ออกแบบระบบควบคุมด้วยดิจิตอล  และซอฟตแวร์ควบคุม
ออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุมโดยภาษา C
ออกแบบระบบเว็บบอร์ด  โดยใช้ภาษา HTML
ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ระดับ  VLSI
อาชีพหลักที่นักศึกษาทำได้มีดังนี้
การบริการระบบ  Internet
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรควบคุม
Software Developer
.  System Engineer
Multimedia System Engineer
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาซอฟต์แวร์  เป็นกิจกรรมที่วับซ้อนที่สุดของมนุษยชาติ  เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ปัจจุบันมีวิทยาการที่เกิดขึ้นใหม่  ๆ  ที่เริ่มทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์  เกิดตามหลัก
"วิศวกรรมศาสตร์"  ซึ่งสามารถลดโอกาสล้มเหลวได้Oriented Technology, ภาษา  UML, การจัดทำ  Software Quality Assurance, กระบวนการบริหารโครงการ,  เรื่อง
CMM:(Capability Maturity Model)
นักศึกษาจะได้ทักษะดังนี้
สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างดี  โดยใช้ภาษา  UML
สามารถประยุกต์เทคโนโลยี  CMM:กับองค์กร
สามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐาน
สามารถใช้  Case Tool ได้
สามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยี.Net หรือ  J2EE
อาชีพที่นักศึกษาทำได้  มีดังนี้
วิศวกรซอฟต์แวร์
นักพัฒนาซอฟต์แวร์
โปรแกรมเมอร์
ผู้เชี่ยวชาญ  Case Tool
Consultant(เมื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว)
สาขาวิชาบริหารระบบ
นักศึกษาในหลักสูตรนี้จะเรียนรู้ระบบปฏิบัติการหรือแบบ  Windless  และ  Unix ตลอดจน  Software ที่ใช้กับWeb Server และ  Protocol ต่าง  ๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารในระบบ
แบบกระจาย  นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องรู้หลักการบริหารระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย  และการใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งระบบ  นักศึกษาจะได้รับ  Certificate
จากบริษัทเทคโนโลยี  ชั้นนำเช่น  Cisco, Oracle หรือ  Microsoft เป็นทางเลือกในการแสดงตัวระบบภาพของทักษะและความรู้นักศึกษาจะมีทักษะ
สามารถบริหารระบบแม่ข่าย  Internet ได้
. สามารถจัดการกับ  Virus และ  Hacker ได้
สามารถติดตั้ง  Firewall ได้
สามารถติดตั้งระบบ  Linux และ  Windows ได้
สามารถทำงานระบบ  Network Management ได้
. สามารถบริหารความปลอดภัยของระบบได้
อาชีพที่สามารถทำได้คือ
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์
ผู้บริหารระบบเครือข่าย
Web Master
.  ผู้บริหารด้าน  Security ของระบบคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและโมไบล์
สาขาวิทยาการสำหรับผู้ที่สนใจ  ทำงานด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ตลอดจนการพัฒนาซอฟต์แวร์และงานมัลติมีเดียที่ใช้กับมือถือและอุปกรณ์พกพา  นักศึกษาจะสร้างทักษะ
จากโครงการต่าง ๆ  ในห้อง  ทดลองของคณะ  และจากโครงการวิจัยของอาจารย์  นักศึกษาสำเร็จหลักสูตรสามารถ
ออกแบบซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์พกพา  โดยใช้.Net และ  Java
สามารถใช้  Flash ได้
สามารถออกแบบระบบเครือข่ายทั้งแบบ  Wired และ  Wireless
สามารถเข้าใจ  Protocol การสื่อสารข้อมูล  ๆ  ได้
อาชีพที่นักศึกษาทำได้
นักพัฒนาซอฟต์แวร์มือถือ
Network Engineer
Technical Staff ของบริษัท
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่างขึ้นโดยอาศัยเกณฑ์ที่ตั้งโดยสมาคม  ACM(Association of Computing Machinery)  แห่งประเทศ
สหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก  เกณฑ์ที่ใช้คือส่วนที่เป็นหลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  การศึกษาเน้นการจัดเตรียมบัณฑิตให้รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของธุรกิจ  ภาครัฐ
ความต้องการในวงการแพทย์  ความต้องการในวงการศึกษา  และความต้องการในธุรกิจอื่น  ๆ  ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กัน
ไป  ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร  และผู้ใช้งานในองค์กรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ 
อ้างอิง asis

1 ความคิดเห็น:

ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

แสดงความคิดเห็น

Loading

แบ่งปัน/แชร์ใหักับเพื่อนๆ

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More