P.pw - Shorten urls and earn money!

Lan Switching

Switch Modes
วิธีการที่ข้อมูลภายในเฟรมถูกจัดส่งออกไปยังพอร์ตเป้าหมายคือการที่ต้อง แลกเปลี่ยนระหว่างระยะเวลาหน่วง latency กับความเชื่อถือได้ (reliability) นั่นคือ latency ต่ำก็จะมีความน่าเชื่อถือต่ำและถ้า latency สูงก็จะมีความน่าเชื่อถือสูงไปด้วย วิธีการทำงานแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือ store-and-forward , cut-through, fragment-free ซึ่งจะมีค่า latency และระดับความน่าเชื่อถือที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
Store-and-Forwarding Switching
วิธีการทำงานแบบ store-and-forward switching นั้นจะอ่านข้อมูลเข้ามาทั้งเฟรม ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาด ตัดสินใจว่าจะส่งเฟรมออกไปทางพอร์ตใด จากนั้นก็จัดการส่งเฟรมออกไปพอร์ตนั้น สวิทช์จะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการอ่านข้อมูลทั้งเฟรม อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทำการอ่านข้อมูลอยู่นั้นก็ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลไปด้วย ในตัว ถ้าพบว่าเฟรมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะลบเฟรมนั้นทิ้งไป แม้ว่าวิธี cut-through switching จะทำงานได้เร็วกว่าแต่ก็ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลภายในเฟรมระยะเวลาหน่วง latency ที่เกิดขึ้นจากวิธี store-and-forward switching มักจะไม่มีความสำคัญมากนัก
Cut-Through Switching
วิธี cut-through switching สวิทช์จะทำการอ่านข้อมูลส่วนต้นของเฟรมจนถึงที่อยู่ mac address เป้าหมาย เมื่อข้อมูลไหลเข้าสู่สวิทช์ จากนั้นก็จะหยุดอ่านข้อมูลภายในเฟรมและจัดส่งเฟรมนั้นต่อไปยังเป้าหมาย วิธีการแบบ cut-through switching ช่วยลดระยะเวลาหน่วง latency ในการถ่ายทอดข้อมูลให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จะไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลFragment-Free Switching
วิธีการแบบ fragment-free switching เป็นการนำวิธี cut-through switching มาทำการดัดแปลงวิธี fragment-free จะกรองข้อมูลส่วนที่เกิดการชนกันของสัญญาณทิ้งออกไปซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่ สุดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในแพ็กเก็ตของข้อมูลก่อนที่จัดการข้อมูลต่อไป ยังเป้าหมายจะเกิดขึ้นวิธี fragment-free จะรอจนกระทั่งแพ็กเก็ตที่รับเข้ามานั้นได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีการชนกันของ สัญญาณเกิดขึ้น จึงจัดการส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป
วิธีเลือกวิธีการส่งข้อมูล
เมื่อใช้วิธี cut-through และ fragment-free ทั้งพอร์ตข้อมูลที่รับข้อมูลเข้ามาและพอร์ตที่ส่งข้อมูลออกไปจะต้องทำงานใน ความเร็วที่เท่าๆกัน เพื่อทำให้เฟรมข้อมูลยังคงรูปอยู่ได้ตามสภาพเดิม หรือเรียกวิธีการนี้ว่า Synchronous switching ถ้าอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล(bit rate) ไม่เท่ากัน เฟรมของข้อมูลจะต้องถูกจัดเก็บไว้ในสวิทช์ด้วยความเร็วอัตราอันหนึ่งก่อนที่ จะถูกส่งออกไปด้วยความเร็วอีกอันหนึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า Asynchronous switching วิธีการส่งข้อมูลแบบ store-and-forward จะต้องทำงานแบบ asynchronous switching สนับสนุนการเชื่อมต่อระหว่างพอร์ตที่มีความกว้างของช่องสื่อสารไม่เท่ากัน เช่น การผสมระหว่างพอร์ต 100 Mbps กับพอร์ต 100 Mbps ซึ่งเป็นการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมกับการทำงานแบบ client /server ที่ซึ่ง client จำนวนหลายแห่งอาจจะกำลังสื่อสารกับ sever เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาคอขวด(Bottlenecks)ของการสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Loading

แบ่งปัน/แชร์ใหักับเพื่อนๆ

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More